วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 8

     เมื่อนักศึกษาอ่านพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

1.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อใด  และมีผลบังคับใช้เมือใด

   ตอบ  ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2546
 
2.ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือใคร
   ตอบ  ผู้รักษา คือ นายกรัฐมนตรี
 

3.เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพราะอะไร
   ตอบ  สาเหตุที่ต้องประกาศใช้พระราชกฤษฏีฉบับนี้เพราะมีการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการนั้นตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 

4.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีกี่หมวดกี่มาตรา ประกอบด้วยอะไรบ้าง
   ตอบ มี 9 หมวด 53 มาตรา ประกอบด้วย
  1. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  2. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
  3. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  4. การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
  5. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  6. การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
  7. การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
  8. การประเมิลผลการปฏิบัติราชการ
  9. บทเบ็ดเตล็ด
 

5.วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบอะไรบ้าง
   ตอบ  1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
          2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
          3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ         
          4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น         
          5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์         
          6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
          7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
 

6.หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อ   
   คณะรัฐมนตรี 
   ตอบ มี สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานงบประมาณร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
 

7.หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะ รัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลากี่วัน
   ตอบ กำหนดเวลาเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
 

8.แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น  กำหนดให้จัดทำแผนกี่ปี
  ตอบ กำหนดให้จัดทำเป็นแผนสี่ปี
 

9.ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือใคร
  ตอบ ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือ คณะผู้ประเมินอิสระ
 

10.การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินอะไรบ้าง อธิบาย
    ตอบ คณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ  คุณภาพการให้บริการ  ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ  ความคุ้มค่าในภารกิจ  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และระยะเวลาที่  ก.พ.ร.  กำหนด

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

ประสบการณ์ที่ได้จากการทดลองสอน

จากการฝึกทดลองสอน ณ โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษาหนึ่งเดือนกว่า ทำให้กระผมเกิดแนวคิดที่ว่า การเป็นครูยากมาก แต่การเป็นครูที่ดียากยิ่งกว่า ซึ่งจากการสังเกตของครูผู้สอนพบว่า ครูไม่ได้มีหน้าที่สอนอย่างเพียงอย่างเดียว ครูยังมีภาระงานต่างๆที่ต้องทำมากมาย ไม่ว่าจะเป็น งานธุรการในชั้นเรียน เวรประจำวัน งานต่างๆในหมวด และอื่นๆอีกมากมาย ที่ครูทุกคนต้องรับผิดชอบ
ซึ่งจากการสังเกตพฤติกรรมและบุคลิกภาพของครู ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนทั้ง การแต่งกาย การพูดจาไพเราะ มาสอนตรงเวลา มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเอง ไม่ทำผิดกฎจรรยาบรรณครู ทั้งหมดนี้จะเกิดกับครูผู้สอนได้นั้นต้องมาจากภายในจิตใจหรือที่เรียกกันว่า จิตวิญญาณความเป็นครู ซึ่งครูทุกคนต้องมีอยู่ในตัว
            นอกจากนี้จากการทดลองสอนกระผมได้สังเกตเกตการณ์สอนของครูผู้สอน ทำให้พบปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาในชั้นเรียนหลายอย่างด้วยกัน คือ
1.            วิธีการสอนของรู เนื่องจากครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนแบบเดิมๆ โดยเน้นการบรรยายให้ผู้เรียนมากกว่าการจัดกิจกรรมเสริมทักษะ ทำให้ผู้เรียนไม่ตั้งใจเรียน
2.            การควบคุมชั้นเรียน เนื่องมาจากครูสอนโดยการบรรยาย ทำให้ผู้เรียนไม่สนในบทเรียน ส่งผลให้นักเรียนบางส่วน พูดคุยกัน หยอกล้อ แกล้งเพื่อน ในระหว่างที่ครูสอน จึงทำให้ห้องเรียนเต็มไปด้วยความวุ่นวายยากแก่การควบคุม การควบคุมชั้นเรียนนี้มีความสำคัญมากในการสอน ไม่ว่าเราจะเตรียมแผนการสอนสมบูรณ์ดีแค่ไหน หากครูควบคุมชั้นเรียนไม่ได้ แผนที่เตรียมมาก็ไม่มีประโยชน์
3.            สื่อการสอน โดยส่วนใหญ่ผู้สอนใช้หนังสือและเอกสารประกอบการสอนมากที่สุด ครูจะใช้สื่อในการสอนน้อยมาก ส่วนสื่อที่นำมาใช้ก็ไม่มีความหลากลาย จึงทำให้ผู้เรียนเบื่อทีจะเรียน

วิธีการแก้ไข
1.            วิธีการสอน ครูควรหาวิธีการสอนใหม่ๆที่กระตุ้นหรือดึงดูดความสนใจของผู้เรียนให้มากที่สุด ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื้อหาที่จะนำมาสอนนั้นเป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ และในการสอนครูอาจนำ เพลง เกม หรือกิจกรรมต่างที่น่าสนใจ หรือไม่ให้ผู้เรียนทำงานกลุ่ม เพื่อฝึกทักษะการมีส่วนร่วม และร่วมกันคิดภายในกลุ่มมากขึ้นเพื่อเพิ่มความหลากหลาย น่าสนใจ และสร้างสีสันให้ห้องห้องเรียนมีความแปลกใหม่มากขึ้น เพื่อให้ห้องเรียนมีความสนุก และความสนใจเรียนของผู้เรียนอีกด้วย
2.            การควบคุมชั้นเรียน การที่ครูจะคุมชั้นเรียนได้นั้นครูต้องมีการทำกิจกรรม เช่น การเล่มเกม แข่งขันกันการตอบคำถาม การนำเสนองานกลุ่ม ครูควรเน้นกิจกรรมการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียนและครู วิธีการนี้สามารถดึงให้ผู้เรียนหันมาสนใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น
3.            สื่อการสอน ครูควรใช้สื่อที่มีความหลากหลาย และทันสมัยเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน การใช้สื่อที่ดี มีความหลากหลายนั้น ครูต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของสื่อ ประโยชน์ของสื่อแต่ละชนิดว่ามีความเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน และที่สำคัญสื่อชนิดนั้นๆสามารถพัฒนาการเรียนเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาค

1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ กฎหมาย คือข้อบังคับ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษตามกฎหมายที่ถูกกำหนดไว้
การบังคับใช้
                ความเสมอภาค  คือ การที่บุคคลหรือประชาชนที่อยู่ในสถานะเดียวกัน ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับ หรือการใช้การบริการสาธารณะได้อย่างเดียวกันภายใต้ระเบียบเดียวกัน  ซึ่งตัวแทนของรัฐบาลหรือข้าราชการของรัฐ ไม่สามารถที่จะเลือกปฏิบัติหรือการให้บริการกับประชาชนเฉพาะคนใด คนหนึ่งได้
              ดังนั้นกฎหมายต้องเป็นเรื่องที่เมื่อประกาศใช้แล้วจะมีผลบังคับเป็นการทั่วไป ไม่ใช่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่ง หรือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดปฏิบัติตามเท่านั้น ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีอายุ เพศ หรือฐานะอย่างไรก็ตกอยู่ภายใต้ของการใช้บังคับกฎของกฎหมายอันเดียวกัน (โดย ไม่เลือกปฏิบัติ) เพราะบุคคลทุกคนมีความเสมอภาคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน แม้กฎหมายบางอย่างอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่บุคคล หรือวางความรับผิดชอบให้แก่คนบางหมู่เหล่า แต่ก็ยังอยู่ในความหมายที่ว่าใช้บังคับทั่วไปอยู่เหมือนกัน เพราะคนทั่ว ๆ ไปที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกฎหมายนั้นก็ยังต้องปฏิบัติตามอยู่เสมอ

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ  ข้าพเจ้าเห็นด้วย เพราะ การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพเป็นใบอนุญาตนั้น  ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความสามารถในการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ตามสาขาที่เรียนมา โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะต้องมีคุณสมบัติตามที่องค์กรออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำหนดไว้ ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะไม่สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ได้ ถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษตามที่องค์กรวิชาชีพแต่ล่ะองค์กรกำหนดไว้

3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ ข้าพเจ้าคิดว่า แนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่น จะต้องยึดหลักการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่ว่า เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และพัฒนาสาระกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในหมวด 8 มาตรา 58 ได้กำหนด ไว้ว่าให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณการเงิน และทรัพย์สิน ทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าเป็นแนวทางที่ดีในการปฏิบัติ และนำไปประยุกต์ใช้

4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ รูปแบบการศึกษามี 3 รูปแบบ
1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอนการศึกษาในระบบมีสองระดับคือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
     การศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
1. การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
2. การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็น 2 ระดับ ดังนี้
- การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี
- การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็น 2 ประเภท
1) ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
2) ประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ หรือ ศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป
           การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่ง 2 สองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา การใช้คำว่า "อุดมศึกษา" แทนคำว่า "การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย" ก็เพื่อจะให้ครอบคลุมการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว
2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้อง การของบุคคลแต่ละกลุ่ม
3. การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่นๆ

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ข้าพเจ้าคิดว่าแตกต่างกัน เพราะ
    การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็น 3 ระดับ
1. การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
2. การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็น 2 ระดับ ดังนี้
- การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี
- การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นสองประเภท
1) ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
2) ประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ หรือ ศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป
  การศึกษาภาคบังคับ เป็นการศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าเก้าปี มีการจัดการศึกษาดังต่อไปนี้

1. การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
2. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี

6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ โดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 8 และ มาตรา 11 แห่ง พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจเกี่ยวกับราชการทางการเมือง เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐมนตรี ประสานนโยบายระหว่างกระทรวง โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ กลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอความเห็นประกอบการวินิจฉัยสั่งการของรัฐมนตรี
(2) สนับสนุนการทำงานของรัฐมนตรีในการดำเนินงานทางการเมืองระหว่างรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี รัฐสภาและประชาชน
(3) ประสานงานการตอบกระทู้ ชี้แจงญัตติ ร่างพระราชบัญญัติ และกิจการอื่นทางการเมือง
(4) ประสานงานและติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายของรัฐมนตรีกับส่วนราชการในสังกัด และองค์กรในกำกับของกระทรวง
(5) ดำเนินการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน หรือร้องขอความช่วยเหลือต่อรัฐมนตรี
(6) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานรัฐมนตรี หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ 2 ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ ดังต่อไปนี้

(1) งานบริหารทั่วไป
(2) กลุ่มงานประสานการเมือง
(3) กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ
ข้อ 3 ส่วนราชการของสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) งานบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการและงานการประชุมของรัฐมนตรี งานบริหารทั่วไป และช่วยอำนวยการของสำนักงานรัฐมนตรี ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(2) กลุ่มงานประสานการเมือง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานนโยบายระหว่างกระทรวง และประสานกับรัฐสภาตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย การประชาสัมพันธ์ ชี้แจงทำความเข้าใจและให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชน รับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน และงานรับข้อร้องเรียนหรือร้องขอความช่วยเหลือต่อรัฐมนตรี ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(3) กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงาน วิเคราะห์กลั่นกรอง และให้ความเห็นแก่รัฐมนตรีเกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจของรัฐมนตรี ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ ติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมือง และรายงานเพื่อการวินิจฉัยสั่งการของรัฐมนตรี ประสานงานและติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายของรัฐมนตรีกับส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกำกับของกระทรวง ปฏิบัติงาน และมีหัวหน้า คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ เพราะเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา

8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พ.ร.บ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ กระทำความผิด เพราะห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(๒) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(๔) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(๕) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(๖) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(๗) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(๘) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
ตอบ โทษทางวินัยสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาคือบุคคลที่กระทำผิดตามระเบียบแบบแผนที่ข้าราชการต้องประพฤติปฏิบัติ  และโทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ
1) ภาคทัณฑ์    2) ตัดเงินเดือน    3) ลดขั้นเงินเดือน    4) ปลดออก    5) ไล่ออก

 10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าใจของท่าน
ตอบ เด็กหมายความว่า เป็นบุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส

เด็กเร่ร่อนหมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่างๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
เด็กกำพร้าหมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบากหมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดหมาย ความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิด กฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำ ไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทารุณกรรมหมาย ความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือ จิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม