วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
หมวด  ๑
บททั่วไป
มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๓ อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย  พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจทั้ง ทางด้านรัฐสภา คณะรัฐมนตรี  และศาล  ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  ศาล  รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ   และหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ  เสรีภาพ  และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
หมวด  ๔
หน้าที่ของชนชาวไทย
ส่วนที่๔
แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม  การสาธารณสุข  การศึกษา   และวัฒนธรรม
 มาตรา ๘๐ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรมดังต่อไปนี้
   (๑)  คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดู และให้ การศึกษาปฐมวัย  สงเสริม ความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน  รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ  ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพ  และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
   (๒)  ส่งเสริม  สนับสนุน  และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนําไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน  รวมทั้งจัดและสร้างเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ  และสร้างเสริม ให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข  โดยผู้มีหน้าที่ ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
   (๓)  พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม  จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติกฎหมายเพื่อพัฒนา

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
                                                                               หมวด  ๔
หน้าที่ของชนชาวไทย
ส่วนที่๔
แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม  การสาธารณสุข  การศึกษา   และวัฒนธรรม
 มาตรา ๘๐  รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้
             (๑) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
             (๒) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน ของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่าง ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการ สาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพ และจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
             (๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยน แปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
             (๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่า เทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
             (๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ
              (๖) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
   -การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่น กำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของ บุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
   -มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
   -ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้อง ได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัด เทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน
   -การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
   -เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ
   -บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม
   -บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ
   -สาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
    -รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
    -ส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านต่าง ๆโดยจัดให้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อการนี้ จัดงบประมาณสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและให้มีสถาบันการศึกษาและพัฒนา จัดให้มีการใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสนับสนุนให้ประชาชนใช้หลักด้านวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต
   -การส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย รวมทั้งให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
   -การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนซึ่งได้จากธรรมชาติและเป็นคุณต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
   -การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
   -การส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ
   -การส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทุกระดับในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพหรือตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย หรือรูปแบบอื่น
   -การส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
 
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
                      เนื่องจากรัฐ ธรรมนูญนั้นเปรียบเสมือนครื่องมือสำคัญที่เราสามารถนำมาใช้ปกป้องคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของเราจากการละเมิดของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ หรือแม้แต่จากการกระทำโดยประชาชนคนอื่น ๆ ด้วย กันเอง ถ้าหากเรามีความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแล้ว จะช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน ติดต่อธุรกิจต่างๆ นั้นเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น



5.นัก ศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะ ต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
                   
                   เหตุที่มีการคัดค้านนั้นเนื่องมาจาก เหตุผลในการแก้ไขก็เพื่อเพื่อล้มล้าง อำนาจ รัฐประหารให้ หมดไปจากแผ่นดินไทยรวมทั้ง เรายังสามารถตรวจสอบได้ว่า ที่ผ่านมา ได้ใช้อำนาจไปอย่างเป็นธรรมหรือว่า กลั่นแกล้ง รวมทั้งมีการโกงกินหรือไม่และจะได้นำมาลงโทษ ตามกฏหมายอย่างยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย
                       รัฐบาลได้ทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เพราะว่า ประการแรก รัฐธรรมนูญเป็น ปัจจัยหนึ่งในการแก้ไขความขัดแย้งในสังคม รัฐธรรมนูญจะเป็นกลไกในการลดทอนความขัดแย้งในสังคมไทยได้ในระดับหนึ่ง  หากพิจารณาเนื้อหาของรัฐธรรมนูญจะเห็นว่า มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงโดยตรงกับการกำหนดโครงสร้างของสังคมผ่านมิติทาง การเมืองการปกครองดังนั้น การออกแบบรัฐธรรมนูญ (Constitutional Design) จึงมีความสำคัญยิ่ง กล่าวคือ สังคมจะเป็นเช่นไร จะมีความขัดแย้งมากหรือน้อยเท่าใด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการวางโครงสร้างของสังคมผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญ  ประการที่สอง คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญในช่วงเวลานี้เหมาะสมและสามารถกระทำได้ ที่ผ่านมา หลายท่านมักโต้แย้งว่า \"ปัญหาปากท้องชาวบ้านสำคัญกว่า แก้ไขไปแล้วชาวบ้านก็ไม่ได้อะไรนอกจากนี้ ในแง่ เงื่อนเวลา ยังเหมาะสมเพราะประเทศอยู่ในสภาวะปกติ มิได้อยู่ภายใต้การปกครองโดยระบอบเผด็จการ หรือการปกครองโดยทหาร เมื่อมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย จึงเหมาะสมและไม่ขัดแย้งต่อหลักการแต่อย่างใดในการดำเนินกระบวนการแก้ไข เพิ่มเติมกติกาสูงสุดของสังคม ประการสุดท้ายคือรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังคงมีปัญหาในเชิงหลักการว่าด้วย ความเป็นรัฐธรรมนูญที่แท้จริง ปัญหาในเชิงหลักการที่สำคัญมากประการหนึ่งสำหรับรัฐธรรมนูญไทย (ทั้งฉบับปัจจุบันและฉบับก่อนๆ) ซึ่งไม่ค่อยที่จะมีการพูดถึงมากนักก็คือ รัฐธรรมนูญขาดความชอบธรรมในการเป็นรัฐธรรมนูญ (Illegitimate Constitution) อันส่งผลให้ไม่ได้รับการยอมรับนับถือ ปฏิบัติตาม หวงแหน ประเด็นดังกล่าวมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับการดำรงคงอยู่และความศักดิ์สิทธิ์ ของรัฐธรรมนูญในสังคมด้วย
                   ส่วนเหตุที่ประชาชนบางกลุ่มมีการคัดค้านเนื่องมาจากต่างคน ต่างฝ่ายต่างมีความคิดและเหตุผล และความต้องการและจุดประสงค์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญที่แตกแยก แตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญเป็นกติกาของสังคมที่สังคมตกลงกันว่าช่วงเวลานี้ จะใช้กติกานี้ และหากว่าเสียงส่วนใหญ่ของสังคมเห็นว่าควรมีการแก้ไขใหม่ มันก็ย่อมแก้ไขได้ แนวคิดใดที่เสียงส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าต้องแก้ไข ก็ต้องแก้ไขไปตามเสียงส่วนใหญ่ และหากในอนาคต เสียงส่วนใหญ่เห็นว่าต้องแก้ไขอีก ก็ต้องเป็นไปตามเสียงส่วนใหญ่
                        สังคมคือคนจำนวนมากมาอยู่ร่วมกัน กติกาใด เสียงส่วนใหญ่ต้องยอมรับ
หาก กดหัวให้เขารับ ในที่สุดเขาก็ต้องต่อสู้ และเมื่อเสียงส่วนใหญ่ต่อสู้ ชัยชนะของเสียงส่วนใหญ่นั้นย่อมเป็นที่คาดหมายได้เสมอ ว่าในที่สุดแล้วเสียงส่วนใหญ่จะชนะ 

6.
ปัจจุบัน การปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นัก ศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว 

                 ส่วนตัวแล้วข้าพเจ้ามองว่า รัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงที่มั่นคงและน่าเชื่อถือและยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน ที่ดี และมีความสารถที่จะรักษาความมั่งคงและเสถียรภาพของการบริหารบ้านเมืองต่อไป ได้ แต่อยากให้เจ้าหน้าทุกคนทุก ทุกฝ่ายนั้นได้ทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติ เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม และดำเนินงานให้เป็นไปอย่างโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ อีกทั้งต้องตั้งมั่นอยู่บนความยุติธรรม ความถูกต้องและยึดหลักกฎหมายและรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและช่วยเหลือดูแลทุกข์สุขของประชาชน ให้สมกับที่ประชาชนได้ฝากความไว้วางใจและความมั่นคงรวมถึงความเจริญก้าวหน้า ของประเทศชาติไว้ในมือพวกท่าน


อ้างอิง
                   มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ.(2551). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐.(ออนไลน์).สืบค้นจาก www.wiriya-ufp.org/download.php?id=0084& 


วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1


งานชิ้นที่ 2  ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามเกี่ยวข้องกับกฎหมายการศึกษาอย่างน้อย 10 คำ


1. ปรัชญาการศึกษา (Educational Philosophy) หมายถึง ความคิดหรือระบบของความคิด ที่เกี่ยวกับการศึกษา ที่ตั้งอยู่บนรากฐานของปรัชญาแม่บทปรัชญาใดปรัชญาหนึ่ง ปรัชญาการศึกษาเป็นปรัชญาที่แตกหน่อมาจากปรัชญาทั่วไปอันเป็นปรัชญาที่ว่าด้วยความรู้ความจริงของชีวิต ปรัชญาการศึกษาเป็นความเชื่อ ความศรัทธา การเห็นคุณค่าในความคิดทางการศึกษาใดๆ ซึ่งผลักดันให้บุคคลคิดและกระทำการต่างๆ ในด้านการจัดการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับ ความเชื่อนั้นๆ
 

2. ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory) หมายถึงข้อความรู้ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อยๆ หลายหลักการ

3. หลักการเรียนรู้ (Learning Principle) หมายถึงข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ ตามกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ หลักการเรียนรู้หลายๆ หลักการ อาจนำไปสู่การสร้างเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้

4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ (Teaching / Instruction Theory) คือความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ ที่นักคิด นักจิตวิทยา หรือนักการศึกษาได้นำเสนอและได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งว่าเป็นแนวคิดที่น่าเชื่อถือด้วย เหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง

5. ทฤษฎีการสอน (Teaching / Instruction Principle) คือ ข้อความรู้ที่ พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ ซึ่งนักจิตวิทยา หรือนักการศึกษาอาจพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงมาจากทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทฤษฎีการสอนหนึ่งๆ มักประกอบไปด้วยหลักการสอนย่อยๆ หลายหลักการ

6. หลักการสอน (Teaching / Instruction) คือ ข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบและการยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการสอนผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด หลักการสอนหลายๆ หลักการ อาจนำไปสู่การสร้างเป็นทฤษฎีการสอนได้

7. แนวคิดทางการสอน (Teaching / Instruction / Concept / Approach) คือ ความคิดที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการสอนที่นักคิด นักจิตวิทยา หรือนักการศึกษา ได้นำเสนอ และได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งว่าเป็นแนวคิดที่น่าเชื่อถือด้วย เหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง

9. ระบบการสอน / ระบบการเรียนการสอน (Teaching / Instruction / Model) คือ แบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี / หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนิน การสอนดังกล่าว มักประกอบด้วย ทฤษฎี / หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำผู้เรียนไป สู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนดซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผน หรือแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้

10. วิธีสอน คือ ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆ เช่น วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย องค์ประกอบสำคัญของการบรรยาย คือ เนื้อหาสาระที่จะบรรยาย และการบรรยาย และขั้นตอนสำคัญคือ การเรียมเนื้อสาระ การบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย) และการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการบรรยาย ดังนั้นวิธีสอนโดยใช้การบรรยาย ก็คือกระบวนการหรือขั้นตอนที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการเตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรรยาย แล้วบรรยายก็คือพูด บอก เล่า อธิบาย เนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียนและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนวิธีใดวิธีหนึ่ง

11. เทคนิคการสอน คือ กลวิธีต่างๆที่ใช้เสริมกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำใดๆ เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการหรือการกระทำนั้นๆ มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นเทคนิคการสอนหรือดำเนินการสอนใดๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในการบรยาย ผู้สอนอาจใช้เทคนิคต่างๆ ที่สามารถช่วยให้การบรรยายมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การยกตัวอย่าง การใช้สื่อ การใช้คำถาม เป็นต้น

12. ทักษะการสอน คือ ความสามารถในการปฏิบัติการสอนด้านต่างๆ อย่างชำนาญซึ่ง ครอบคลุมการวางแผนการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน การใช้วิธิสอน เทคนิคการสอน รูปแบบการเรียนการสอน ระบบการสอน สื่อการสอน การประเมินผลการเรียนการสอนรวมทั้งการใช้ทฤษฎีและหลักการเรียนรู้และการสอนต่างๆ 

อ้างอิง
ดร.ทิศนา แขมมณี (2545 ) สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

งานชิ้นที่ 1 "My Profile"

ABOUT ME
ประวัติการศึกษา
เรียนอนุบาล-ชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 โรงเรียนวัดโคกมะเฟือง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนบ้านศาลาใหม่
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6 โรงเรียนอัตตัรกียะห์อิสลามียะห์
ปัจจุบันกำลังศึกษามหาวิทยาลัยราชภักนครศรีธรรมราช คณะครุศาสตร์ หลักสูตรภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4
คติประจำตัว
สิ่งที่ทำ ย่อมมีค่า กว่าสิ่งที่พูด